ตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือของคลองแม่ลำพัน ตามศิลาจารึกที่วัดนี้เขียน เล่าเหตุการณ์ในระหว่างก่อน พ.ศ. 1905-1933 ว่า พนมไสดำผัวแม่นมเทด เป็นขุนนางผู้จงรักภักดีสร้างวัดนี้ถวายแด่พระมหาธรรมราชาลิไท และมหาเทวี พระขนิษฐาของพระมหาธรรมราชาลิไท วัดนี้เป็นวัดขนาดใหญ่ จุดเด่นอยู่ที่เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆัง ที่ฐานเจดีย์เป็นรูปช้างล้อม จำนวน 32 เชือก มีลายประทักษิณโดยรอบ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์รายและโบสถ์กลางน้ำอีกด้วย
วัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีเจดีย์ทรงลังกาที่ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีช้างปูนปั้นเต็มตัวล้อมรอบ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโดยรอบฐานทั้ง 4 ด้าน รวม 39 เชือก หมายถึง โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นเครื่องหมายการตรัสรู้ ประกอบกับวิมุตติ 2 ประการ
สิ่งที่เป็นจุดเด่นของวัดนี้คือ มณฑปที่ประดิษฐานพระอจนะ พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเรียกสถานที่นี่ว่า “ฤาษีชุม” เป็นสถานที่ที่พระนเรศวรมาหาราชใช้เป็นที่ประชุมทัพก่อนยกไปปราบเมืองสวรรคโลก นอกจากนี้ในช่องผนังด้านข้างมณฑป (อุโมงค์วัดศรีชุม) ยังเป็นจุดที่ค้นพบหลักศิลาจารึกหลักที่ 2 ที่เล่าถึงเรื่องราวการก่อตั้งราชวงศ์สุโขทัยอีกด้วย
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)
ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2518 ลักษณะพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาดสองเท่าขององค์จริง สูง 3 เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน แท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ ลักษณะพระพักตร์ คล้ายกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ด้านข้างมีแผ่นจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจอยู่ด้วย
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกใกล้กับประตูกำแพงหัก อาคารสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2503 จนแล้วเสร็จและเปิดให้เข้าชมในปี พ.ศ.2506 โดยภายในอาคารแบ่งการจัดแสดงออกเป็นสามส่วน คือ อาคารลายสือไทย เป็นห้องจัดแสดงสไลด์มัลติวิชั่น ในอาคารที่สองจัดแสดงโบราณวัตถุที่สำคัญ และส่วนที่สามเป็นส่วนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีการจำลองโบราณวัตถุชิ้นใหญ่ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวชมได้อยางใกล้ชิด
วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางผังเมือง ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของเมืองสุโขทัย สร้างขึ้นตามความเชื่อในเรื่องจักรวาลแบบอินเดียโบราณ ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธาน วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์รายจำนวนมากกว่า 200 องค์ โดยมีเจดีย์ประธานลักษณะเป็นทรงดอกบัวตูม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัยโดยแท้ รอบๆเจดีย์ประธานมีเจดีย์ประจำทิศอีก 8 องค์ องค์ที่อยู่ตรงมุมทั้งสี่มีอิทธิพลของศิลปะหริภุญไชย และล้านนา ส่วนเจดีย์ที่อยู่ตรงกลางด้านทั้งสี่เป็นทรงปราสาทเรือนยอดแบบสุโขทัย โดยมีลวดลายปูนปั้นศิลปะแบบลังกา
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดมหาธาตุ มีโบราณสถานที่สำคัญคือปรางค์ 3 องค์ ที่มีรูปแบบศิลปะแบบลพบุรี แต่ลักษณะของพระปรางค์ค่อนข้างเพรียวตั้งอยู่บนฐานเตี้ยๆ มีลวดลายปูนปั้นบางส่วนคล้ายเครื่องถ้วนจีนสมัยราชวงศ์หยวน นอกจากนี้ยังพบทับหลังรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนเทวรูปและศิวลึงค์ อันแสดงถึงวัดนี้เคยเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ประกอบด้วยเจดีย์ประธานวิหาร ไม่มีกำแพงแก้วล้อมรอบ โดยเจดีย์ประธานนั้นเป็นทรงดอกบัวตูม มีวิหารประกอบอยู่ด้านหน้า ลักษณะเด่นของเจดีย์ประธานของวัดนี้ยังมีซุ้มจระนำที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้าน สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปยืนและปางลีลา ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเป็นเกาะกลางน้ำเรียกว่า “ตระพังเงิน” มีโบสถ์ตั้งอยู่เช่นเดียวกับวัดสระศรี
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานที่มีความงดงามมากอีกแห่งหนึ่ง เพราะวัดตั้งอยู่กลางสระน้ำขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า “ตระพังตระกวน” สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้คือ เจดีย์ทรงระฆังที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการรับพระพุทธศาสนาจากลังกาของอาณาจักรสุโขทัย จึงเรียกเจดีย์แบบนี้ว่า “เจดีย์ทรงลังกา” นอกจากนี้ยังมีโบสถ์ตั้งอยู่กลางน้ำอีกด้วย
เป็นโบราณสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณนี้ และยังมีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ลักษณะของแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูด้านนอกเรียกว่าคูแม่โจน มีพระปรางค์ 3 องค์เป็นประธานของวัด และมีความเก่าแก่ที่สุดอีกด้วย องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะขอมแบบบายน ตรงกับช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บริเวณด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่อิริยาบถ
ตั้งอยู่บนเนินเขาด้านตะวันตกสุดของพื้นที่โบราณสถานนอกเขตกำแพงเมืองในด้านนี้ ชื่อของวัดมาจากทางเดินที่ปูด้วยหินชนวนแผ่นบางๆ ตั้งแต่ตีนเขาจนถึงลานวัด บริเวณวัดเหลือเพียงวิหารก่อด้วยอิฐมีเสาศิลาแลงสี่แถวเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานอภัยขนาดใหญ่คือพระอัฏฐารส ที่ปรากฎอยู่ในจารึกหลักที่ 1 ด้วย
คลองแม่ลำพัน หรือ เเม่น้ำลำพัน แม่น้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัยเก่า ไปลงแม่น้ำยมที่เมืองสุโขทัยใหม่ อดีตน้ำแม่ลำพันเป็นเส้นทางคมนาคมหลักของชาวสุโขทัยในการเดินทางเข้าออกยังเมืองโบราณแห่งนี้และเพื่อติดต่อไปยังที่อื่นๆ ชื่อ ลำพัน บ้างก็ว่าเป็นภาษาเขมร หมายถึงพืชสมุนไพรบางชนิด แต่ก็มีความหมายในภาษาไทย คือ ลำ ที่แปลว่า ลำน้ำ กับ พัน ที่สื่อถึงการเชื่อมต่อเกี่ยวโยง แม่น้ำลำพันจึงอาจหมายถึงลำน้ำ น้ำที่ไหวกวนจนเอาชุมชนใหญ่น้อยเข้าด้วยกัน ต้นน้ำลำพันอยู่ที่รอยต่อระหว่าง อ.บ้านด่านลานหอย ของสุโขทัย และ อ.เถิน ของลำปาง ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงแบ่งระหว่างลุ่มแม่น้ำปิงกับแม่น้ำยม-น่าน บริเวณต้นน้ำไล่เรียงลงมาตามระดับที่สูงจนถึงที่ราบซึ่งพบแหล่งโบราณคดีอันมีคนเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำการผลิตเหล็ก-ทองแดงแลกเปลี่ยนกับสินค้าจากภายนอกตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ราว 3,000 ปีก่อน
เช่น บ้านวังหาด บ้านตลิ่งชัน เมื่อไหลลงสู่ที่ราบลุ่ม แม่น้ำลำพันเริ่มคดเคี้ยวตามสภาพภูมิประเทศสูงต่ำสลับกันไปทางทิศตะวันออก แล้วโค้งลงสู่ทางใต้ตรงก่อนถึงเมืองสุโขทัยราว 3 กิโลเมตร ณ จุดนี้เป็นบริเวณสำคัญที่แม่น้ำลำพันได้ป้อนน้ำลงสู่บารายหรืออ่างเก็บน้ำโบราณที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระพายหลวง กับคูเมืองสุโขทัยทางใต้ลงมา
จากตัวเมืองสุโขทัย แม่น้ำลำพันหักศอกไปทิศตะวันออกมุ่งตรงไปลงแม่น้ำยม ด้วยลักษณะที่คดโค้งตามธรรมชาติอยู่ ซึ่งเส้นทางแม่น้ำลำพันนี้น่าจะเป็นทางคมนาคมสายหลักที่ต่อเชื่อมเมืองสุโขทัยเก่าเข้ากับแม่น้ำยมที่ใช้เป็นทางหลวงต่อเนื่องลงไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาทางที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างจนออกปากอ่าวไทยในที่สุด แต่ในสมัยโบราณ แม่น้ำยมอาจไม่ใช่ทางเส้นเดียวที่ชาวสุโขทัยติดต่อกับบ้านเมืองอื่น ดังนั้นแม่น้ำลำพันจึงเหมือนทางที่ใช้ออกสู่บ้านเมืองอื่นๆ ขึ้นไปถึงที่ราบสูงของอีสานและลุ่มน้ำโขงได้ด้วย
เหตุนี้ เมื่อลากเส้นบนแผนที่จากต้นน้ำ จะพบว่าแม่น้ำลำพันคือเส้นทางติดต่อของผู้คนทางฝั่งเทือกเขาสูงด้านตะวันตกใกล้ลำน้ำสาละวินไปสู่ชุมชนทางตะวันออกโดยผ่านลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนอันมีสุโขทัยเป็นเมืองหลักกลางทาง ถือได้ว่าแม่น้ำสายนี้เป็นที่เริ่มต้นของเส้นทางหลายเส้นทาง เมืองสุโขทัยยังคงเป็นศูนย์กลางของเดินทางของสายน้ำสายสำคัญสายนี้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
บรรพบุรุษอพยพมาจากแคว้นโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งถิ่นฐานบนผืนดินที่เต็มไปด้วยต้นจั่น ขนานนามเรียกเป็นชื่อหมู่บ้านมาจนถึงทุกวันนี้ ชาวชุมชนมีวิถีความเป็นอยู่เรียบง่าย พอเพียง มีความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน พูดจาภาษาไทยวน (ภาษาเหนือ) ยังคงยึดอาชีพเกษตรกรรม และหัตถกรรมการทอผ้าเป็นสำคัญ ปัจจุบันเปิดให้ท่องเที่ยวและมีบริการที่พักแบบโอมสเตย์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตอย่างใกล้ชิด พร้อมเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ตกทอดมารุ่นสู่รุ่น บ้านนาต้นจั่นเคยได้รับรางวัล PATA Gold Award 2012 สาขา Heritage and Culture Heritage (HE) และรางวัลยอดเยี่ยมประเภทองค์กรสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว จากการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ปี ๒๕๕๖ ซึ่งจัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ด้วย
เมืองศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองสุโขทัย ต่อมาเมืองสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เมืองสวรรคโลก
ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310) เมืองศรีสัชนาลัย หรือ สวรรคโลก ถูกปล่อยทิ้งร้าง ต่อมาเมืองสวรรคโลกได้จัดตั้งขึ้นใหม่ที่บ้านท่าชัยอยู่ด้านทิศใต้ของเมืองเดิม และในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านวังไม้ขอน ซึ่งคือที่ตั้งของอำเภอสวรรคโลกในปัจจุบัน ส่วนชื่อเมืองศรีสัชนาลัย ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของอำเภอศรีสัชนาลัยโดยได้รวมเอาเขตพื้นที่เมืองศรีสัชนาลัยโบราณไว้ด้วย
เมืองโบราณศรีสัชนาลัย มีขอบเขตของผังเมืองที่ก่อสร้างทับซ้อนอยู่บนบริเวณเมืองเชลียงเดิม คือ แนวกำแพงเมืองเชลียงเดิมทำเป็นคันดินยาวขนานไปตามลำน้ำยม ซึ่งยังคงปรากฎหลักฐานคันดินให้เห็นอยู่เป็นระยะๆ ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น จึงได้พิจารณาเลือกบริเวณที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขากำหนดขอบเขต การก่อสร้างกำแพงเมืองจากศิลาแดง ลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยม ไม่สม่ำเสมอตามทิศทางของแม่น้ำยม ในช่วงนี้ลักษณะของกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยมีหลายแนว เพราะมีการผสมผสานเอาแนวกำแพงคันดินในสมัยที่เป็นเมืองเชลียงเข้ามาใช้ประโยชน์ด้วย
โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีทั้งภายใน และภายนอกกำแพงเมือง ซึ่งรวมทั้งหมดมีไม่น้อยกว่า 215 แห่ง รวมทั้งสุสานวัดชมชื่น และเตาสังคโลกโบราณ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ถือได้ว่าเป็นโบราณสถานแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม ความเป็นมาของบรรพชนชาวไทยที่สำคัญมากอีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวควรเดินทางไปเที่ยวชมเมื่อเดินทางมาเยือนจังหวัดสุโขทัย
จังหวัดสุโขทัย ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรที่รุ่งเรืองที่สุดเมื่อ 700 กว่าปีก่อน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีเเม่น้ำไหลผ่านจากทิศเหนือจดใต้ ตามหลักฐานในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำเเหง กล่าวว่า ด้านสภาพภูมิประเทศที่มีน้ำบริบรณ์เช่นนี้ ผู้คนจึงทำการเกษตรเป็นหลัก พืชผลมากมี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว สมกับชื่อเมือง สุโขทัย ที่มีความหมายว่า “รุ่งอรุณเเห่งความสุข” ส่งต่อเรื่องราวมาถึงปัจจุบันด้วยร่องรอยหลักฐานจากโบราณสถานเเละโบราณวัตถุมากมาย บ่งบอกถึงความสุขของผู้คนในอดีตเเละความรุ่งเรืองเเห่งยุคสมัย รวมถึงวิถีชีวิตเเละภูมิปัญญาดั้งเดิม เช่น การทำเครื่องสังคโลก ภาชนะปั่นเคลือบ ลวดลายเป็นเอกลักษณ์ การย้อม หมัก เเละทอผ้าเเบบโบราณ หรือการทำเกษตรกรรม เเบบพึ่งพาธรรมชาติ
รีสอร์ทที่พักบูติคของสุโขทัยที่อยู่ในเขตเมืองเก่า ใกล้กับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพียงไม่เกิน 5 นาทีก็จะเข้าเขตในส่วนของมรดกโลกอันเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจเเละดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาที่สุโขทัยเเห่งนี้
ที่อยู่: 214 หมู่3 ต.เมืองเก่า, อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย, ประเทศไทย 64210 โทร 055 697 214, 082 450 0177-8